News Today
  • Home
  • News
  • Health News
  • Travel News

News Today

News

Recent Posts

  • เคมีบำบัดสำหรับมะเร็งมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์
  • เมืองดูบรอฟนิกมีชื่อเสียงในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
  • ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างการเดินตัวตรงกับสมอง
  • เส้นทางเดินป่าโยเดลแห่งแรกของออสเตรีย
  • ทารกในครรภ์ต้องเผชิญกับความเครียดที่เป็นพิษในระดับสูง

จินตคณิต : เทคนิคพ่อแม่ รับมือลูกวัยต่อต้าน

  • News

จินตคณิต : เทคนิคพ่อแม่ รับมือลูกวัยต่อต้าน เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยเตาะแตะ หรือวัยประมาณ 1-3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจตกใจที่พบว่า ลูกน้อยที่เคยน่ารัก เชื่อฟัง บัดนี้ทำไมแสนดื้อจนเริ่มน่าเอือมระอา ไม่ว่าจะพูดอะไรก็จะบอก “ไม่ !” ไว้ก่อน ไม่ค่อยทำตามคำสั่งอย่างที่เคย ๆ แบบนี้จะรับมืออย่างไรดี

วัยต่อต้าน คือพัฒนาการอีกขั้นของลูก
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า เมื่อเด็ก ๆ เติบโตเข้าสู่วัยเตาะแตะ เขาจะเริ่มมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เขาจะเดินได้เอง พูดได้มากขึ้น และเริ่มอยากลองต่อต้านอำนาจของคุณพ่อคุณแม่ดูบ้าง ด้วยเหตุนี้ เด็ก ๆ จึงมักพูดว่า “ไม่ !” ใส่คุณพ่อคุณแม่ และเริ่มไม่ทำตามคำสั่งของคุณพ่อคุณแม่เหมือนเมื่อก่อน

รับมืออย่างไรเมื่อลูกเข้าสู่วัยต่อต้าน
คุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามทำความเข้าใจก่อนว่า พฤติกรรมเหล่านี้คือพฤติกรรมตามธรรมชาติของเขา มองอีกทางหนึ่งก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะนั่นเท่ากับว่าลูกรักเติบโตขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว สำหรับการลดพฤติกรรมนี้ คือการสอนให้ลูกมีวินัยและรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทำดังนี้ค่ะ

1. ออกคำสั่งแบบให้เวลา
เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกทำอะไรสักอย่าง คุณพ่อคุณแม่ควรออกคำสั่งโดยให้ลูกมีเวลาได้เตรียมตัว แทนที่จะให้ลูกทำในสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทันที เช่น ขณะที่ลูกกำลังเล่นอยู่ หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้เขาไปอาบน้ำ คุณพ่อคุณแม่อาจบอกเขา “อีก 15 นาที ลูกต้องไปอาบน้ำนะ” ซึ่งเด็ก ๆ จะมีเวลาเตรียมใจว่าเขาสามารถเล่นต่อได้อีก 15 นาที ไม่เป็นการบังคับเขามากจนเกินไปว่าเขาจะต้องละจากสิ่งที่เขากำลังเพลิดเพลินเดี๋ยวนั้น

2. เมื่อลูกโวยวายคุณพ่อคุณแม่ต้องสงบ
เมื่อลูกแผลงฤทธิ์ อาละวาดโวยวายเพราะไม่ได้ดั่งใจ คุณพ่อคุณแม่ควรอดทน ใจเย็น ๆ และมีทีท่าที่สงบ หนักแน่น บอกกับเขาว่า ตอนนี้เขากำลังโกรธหรือไม่พอใจ ให้เวลาเขาสงบลงก่อนแล้วค่อยพูดคุยอธิบายด้วยเหตุผล เพราะหากคุณพ่อคุณแม่อารมณ์รุนแรงกลับไป ตีหรือลงโทษเขา แม้ลูกจะหยุดพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก แต่เขาจะซึมซับความรุนแรงเข้าไปในจิตใจได้ค่ะ

3. ให้ทางเลือกให้ลูกได้ตัดสินใจ
แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะออกคำสั่งกับลูกแบบตรง ๆ ลองให้เขาได้เลือกในสิ่งที่เขาอยากทำดูบ้าง เช่น คุณอยากให้ลูกไปกินข้าวและอาบน้ำ แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะสั่งลูกว่า ตอนนี้ไปกินข้าวนะ ตอนนี้ไปอาบน้ำนะ ลองเปลี่ยนเป็นให้ทางเลือกกับเขาว่า “ลูกต้องไปกินข้าวและอาบน้ำ แต่ลูกจะเลือกทำสิ่งไหนก่อนก็ได้” วิธีนี้เด็ก ๆ จะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองมีสิทธิ์คิด ตัดสินใจมากขึ้น และช่วยฝึกทักษะการวางแผนให้ลูกได้ด้วยค่ะ

แม้ว่าลูกจะเริ่มดื้อเพราะเข้าสู่วัยต่อต้าน แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องไม่ลืมว่า ไม่ว่าเขาจะดื้ออย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็ยังสำคัญที่สุดสำหรับเขา สิ่งต้องห้ามก็คือ อย่าทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่จะไม่เอา ไม่ต้องการเขาอีกต่อไป เพราะมั นจะทำให้เขารู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจ และเสียพัฒนาการที่ดีตามวัยไปได้นั่นเอง

Post navigation

เชลซีคว้าแชมป์ลีกคัพหญิงด้วยการชนะครั้งสุดท้ายเหนือบริสตอลซิตี้ → ← ปาร์ตี้ที่ไร้เหตุผลใกล้มหาวิทยาลัยโคโลราโดในโบลเดอร์แจ้งให้ตำรวจสาบานว่าจะจับกุม

Search

Categories

  • Health News
  • News
  • Travel News

Recent Posts

  • เคมีบำบัดสำหรับมะเร็งมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์
  • เมืองดูบรอฟนิกมีชื่อเสียงในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
  • ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกระหว่างการเดินตัวตรงกับสมอง
  • เส้นทางเดินป่าโยเดลแห่งแรกของออสเตรีย
  • ทารกในครรภ์ต้องเผชิญกับความเครียดที่เป็นพิษในระดับสูง
Powered by WordPress | theme Live Portfolio